FAQ

คำถามที่พบบ่อย

น้ำมันรำข้าว
ความต่างของน้ำมันรำข้าว ทั้ง 3 แบบ
น้ำมันรำข้าวทั้ง 3 ขวด เป็นน้ำมันรำข้าวเหมือนกัน ต่างกันที่ปริมาณวิตามินและสารอาหาร
น้ำมันรำข้าวคิง (ฝาเขียว) มีโอรีซานอล 10,000 ppm
น้ำมันรำข้าว King (ฝาทอง) มีโอรีซานอล 13,500 ppm
น้ำมันรำข้าว Ricely (ฝาฟ้า) มีโอรีซานอล 15,000 ppm (โอรีซานอลสูงที่สุดในท้องตลาด)

โอรีซานอล เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าวิตามินอีถึง 6 เท่า
และยังช่วยลดคอเลสเตอรอลตัวร้าย
โอรีซานอลคืออะไร
โอรีซานอล เป็นสารที่พบเฉพาะในน้ำมันรำข้าวเท่านั้น
ช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินอี ถึง 6 เท่า!
และช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในร่างกาย
ไฟโตสเตอรอล ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลได้อย่างไร
ไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) มีลักษณะโครงสร้างทางเคมีใกล้เคียงกันมากกับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ซึ่งคอเลสเตอรอลจากอาหารนั้นจะถูกดูดซึมเข้าร่างกายที่ลำไส้เล็ก โดยคอเลสเตอรอลจะรวมตัวกับเกลือของกรดน้ำดีในรูปของไมเซลล์ (Micelle) จากนั้นคอเลสเตอรอลจะถูกเปลี่ยนไปเป็นคอเลสเตอรอลเอสเตอร์ (Cholesterol Ester) เพื่อเข้าสู่กลไกการนำส่งไปใช้งานต่อไป

ส่วนไฟโตสเตอรอล เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะแย่งพื้นที่ของคอเลสเตอรอลในไมเซลล์ ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลที่ถูกดูดซึมในร่างกายน้อยลง
สารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติที่พบในน้ำมันรำข้าว มีกี่ชนิด
สารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติที่พบในน้ำมันรำข้าว มี 3 ชนิด ได้แก่
1. สารโอรีซานอล (Oryzanol)
2. สารไฟโตสเตอรอล (Phytosterols)
3. วิตามินอี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโทโคฟีรอล (Tocopherol) และกลุ่มโทโคไตรอีนอล (Tocotrienol)
วิตามินในน้ำมันเมื่อโดนความร้อนแล้วหายไปหรือไม่
บริษัทฯ เคยทำวิจัยพบว่า น้ำมันรำข้าวที่ผ่านความร้อนสูงประมาณ 10 ครั้ง ปริมาณวิตามินและสารอาหารลดลงเพียง 5% ดังนั้น ในการใช้น้ำมันรำข้าวประกอบอาหารในครัวเรือนที่ให้ความร้อนสูงประมาณ 1-2 ครั้ง ปริมาณวิตามินและสารอาหารจะคงอยู่ใกล้เคียงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง
การใช้น้ำมันควรทอดกี่ครั้ง
ควรใช้น้ำมันทอดอาหารเพียงครั้งเดียว ไม่ควรนำน้ำมันที่ผ่านการทอดอาหารแลัวกลับมาใช้ใหม่ เพราะน้ำมันที่ได้รับความร้อนสูงอย่างการทอดอาหารต่อเนื่องนานๆ หรือใช้ทอดซ้ำหลายๆครั้ง จะทำให้สารโพล่าร์ ในน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น สารนี้สามารถสะสมในร่างกายได้และก่อให้เกิดอันตรายเมื่อสะสมในปริมาณมาก เช่น เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหัวใจจากเส้นเลือด หัวใจตีบตัน มะเร็งในกระเพาะอาหาร และตับเสื่อม นอกจากนี้น้ำมันทอดซ้ำดังกล่าว จะมีปริมาณอนุมูลอิสระอันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มสูงขึ้นด้วย
สีของน้ำมันมีผลต่อการใช้งานหรือไม่
สีของน้ำมันแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับสีของวัตถุดิบที่น้ำมันสกัดเป็นน้ำมัน
หากวัตถุดิบมีสีเข้มก็จะทำให้สีของน้ำมันเข้มตาม

สีของน้ำมันรำข้าวจึงมีสีเหลืองทองเข้ม เนื่องจากน้ำมันรำข้าวผลิตจากรำข้าวและจมูกข้าว ซึ่งเป็นสีของวัตถุดิบธรรมชาติ ซึ่งไม่ส่งผลต่อสุขภาพแน่นอน
 


น้ำมันรำข้าวคิง มีแบบสกัดเย็นหรือไม่
น้ำมันรำข้าวคิง เป็นน้ำมันรำข้าวผ่านกรรมวิธี ซึ่งวิธีการผลิตจะเป็นระบบที่ได้รับมาตรฐานสากล ทั้งนี้เรื่องคุณภาพต่างๆมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัย เพราะเรามีการส่งออกไปกว่า 30 ประเทศทั่วโลก รวมถึงเราได้รับตราอาหารรักษ์หัวใจ จากมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ ว่าเป็นน้ำมันที่ดีต่อหัวใจไม่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
น้ำมันรำข้าวคิง เมื่ออยู่ในที่เย็นเกิดไขหรือไม่
น้ำมันพืชทุกชนิดสามารถเกิดไขได้เมื่อได้รับความเย็น แต่จะเริ่มเกิดไขในระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสัดส่วนกรดไขมันของน้ำมันพืชนั้นๆ เช่น

น้ำมันปาล์ม จะเริ่มเกิดไขเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 6.6 14.3 องศาเซลเซียส
น้ำมันถั่วเหลือง จะเริ่มเกิดไขเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า -9 องศาเซลเซียส
น้ำมันรำข้าวคิง จะเริ่มเกิดไขเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 5 6 องศาเซลเซียส

การเป็นไขของน้ำมันเป็นลักษณะทางกายภาพเท่านั้น เมื่อนำน้ำมันที่เป็นไขมาไว้ที่อุณหภูมิปกติ (อุณหภูมิห้อง) หรือนำไปประกอบอาหารที่ใช้ความร้อน ลักษณะที่เป็นไขก็จะแปรสภาพกลับเป็นของเหลวเหมือนเดิม
น้ำมันรำข้าวกับน้ำมันมะกอกต่างกันอย่างไร
น้ำมันรำข้าวกับน้ำมันมะกอก จัดอยู่ในกลุ่มน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตำแหน่งเดียว หรือ MUFA สูงเหมือนกัน โดยน้ำมันมะกอกมีปริมาณของ MUFA สูงกว่าน้ำมันรำข้าว แต่เมื่อพิจารณาจากคำแนะนำสัดส่วนกรดไขมันที่เหมาะสมกับการบริโภคขององค์การอนามัยโลก (WHO) และโครงการศึกษาคอเลสเตอรอลแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (NCEP) พบว่า น้ำมันรำข้าวมีสัดส่วนของกรดไขมันทั้ง 3 ชนิดใกล้เคียงมากที่สุดกับคำแนะนำของ  WHO และ NCEP และในน้ำมันรำข้าวยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิดและมีในปริมาณมากกว่าน้ำมันมะกอก
โอเมก้า 3 ที่ระบุในฉลากน้ำมันพืช มีประโยชน์เหมือนในน้ำมันปลา จริงหรือไม่
โอเมก้า 3 ที่อยู่ในน้ำมันพืชนั้น คือ Linolenic Acid ; C 18:3 เป็นคนละชนิดกับที่มีในน้ำมันปลา คือ Docosahexaenoic acid (DHA) ; C 22:6 และ Eicosapentaenoic acid (EPA) ; C 20:5 และจากการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนโครงสร้างจากโอเมก้า 3 (C 18:3) ที่อยู่ในน้ำมันพืชเป็นโอเมก้า 3 (DHA ; C 22:6 / EPA ; C 20:5) เหมือนที่มีอยู่ในน้ำมันปลาแต่เกิดขึ้นได้ในปริมาณที่น้อยมาก
น้ำมันรำข้าวคิง เก็บได้นานเท่าไหร่ และควรจัดเก็บอย่างไร
น้ำมันรำข้าวคิง มีมาตรฐานอายุผลิตภัณฑ์เท่ากับ 2 ปีหลังวันผลิต โดยมีการระบุ วัน เดือน ปี ที่ผลิต และวันครบกำหนด 2 ปี ไว้บนขวดน้ำมัน การเก็บรักษาน้ำมันที่ถูกต้องทั้งที่เปิดใช้แล้ว หรือยังไม่ได้เปิดใช้ คือ เก็บในที่แห้ง ณ อุณหภูมิปกติ หลีกเลี่ยงการโดนความร้อนและแสงแดดโดยตรง ไม่จำเป็นต้องนำไปเก็บในตู้เย็น
ชอร์ตเทนนิ่งน้ำมันรำข้าว
ชอร์ตเทนนิ่งน้ำมันรำข้าวคิงคืออะไร
ชอร์ตเทนนิ่งก็คือเนยขาว สามารถใช้แทนเนยสด มาการีน หรือชอร์ตเทนนิ่งจากไขมันปาล์ม
ทำขนม เบเกอรีต่างๆ ได้ตามปกติ

และที่สำคัญชอร์ตเทนนิ่งน้ำมันรำข้าวคิงดีต่อสุขภาพมากกว่า
เพราะปลอดภัยจากกรดไขมันทรานส์ และมีกรดไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าเนยสด 50%
สัดส่วนในการใช้ทดแทนเนยสด หรือมาการีน
เนยสด เนยขาว หรือมาการีน (ตามสูตร) 1 ถ้วยตวง = ใช้ชอร์ตเทนนิ่งน้ำมันรำข้าวคิง 1 ถ้วยตวง

*หากสูตรขนมนั้นๆยังต้องการกลิ่นของเนย
แนะนำให้ใช้เนยสด 50% ชอร์ตเทนนิ่งน้ำมันรำข้าวคิง 50%
จะทำให้ขนมดีต่อสุขภาพมากกว่าเดิม
การเก็บรักษาชอร์ตเทนนิ่งน้ำมันรำข้าวคิง

1.ขณะที่ยังไม่เปิดใช้ เมื่อได้สินค้าแล้วควรเก็บในตู้เย็น เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพที่ดีของสินค้า
2.เมื่อเปิดใช้แล้วควรรีบปิดฝาและนำเข้าตู้เย็นทันที จะสามารถใช้ได้ตามวันหมดอายุที่ระบุไว้
3.ถ้าหากเปิดใช้แล้วไม่ได้นำเข้าตู้เย็น แนะนำให้ดมกลิ่น หากมีกลิ่นหืนไม่แนะนำให้ใช้
4.ชอร์ตเทนนิ่งหมดอายุแล้วไม่เกิน 1-2 เดือนและไม่มีกลิ่นหืน สามารถใช้ได้ (ทั้งกรณีเปิดใช้ และยังไม่เปิดใช้)

*แนะนำให้ดมกลิ่น ถ้ามีกลิ่นหืน ไม่แนะนำให้ใช้ทุกกรณี

 

คำถามที่พบบ่อย
น้ำมันรำข้าว 1 ลิตร ทำไมชั่งแล้วน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม?
เนื่องจาก ปริมาตร กับ น้ำหนัก ไม่เหมือนกัน
ของเหลวแต่ละชนิดมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน
ในปริมาตรที่เท่ากันจึงมีน้ำหนักแตกต่างกันนั้นเอง

สรุปน้ำหนักตามมาตรฐาน
- น้ำมันรำข้าวคิง 1 ลิตร เนื้อน้ำมันอย่างเดียวมีน้ำหนัก 916 กรัม
- น้ำหนักขวดและฝา เท่ากับ 41.9g

*หากชั่งน้ำหนักพร้อมขวดและฝา น้ำหนักรวมอยู่ที่ 957.9 กรัม
กรดไขมันทรานส์ มีผลต่อสุขภาพอย่างไร
กรดไขมันทรานส์ หรือ Trans Fatty Acid (TFA) คือกรดไขมันที่พบได้ตามธรรมชาติอยู่ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย และเกิดขึ้นจากกรดไขมันที่ถูกแปลงสภาพจากธรรมชาติในโครงสร้างซิส (cis-) เป็นทรานส์ (trans-) ด้วยการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partial Hydrogenation) และการให้ความร้อนสูง (High Temperature) ซึ่งกรดไขมันทรานส์ พบมากในมาร์การีน (เนยเทียม) ชอร์ตเทนนิ่ง (เนยขาว) ครีมเทียม และน้ำมันที่ใช้ทอดซ้ำจนเริ่มหนืด

กรดไขมันทรานส์ มีผลต่อการเพิ่มคอเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL-C) และที่น่ากลัวคือ มีผลต่อการลดคอเลสเตอรอลตัวดี (HDL-C) อีกด้วย กรดไขมันทรานส์ มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งตัว โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (โรคเบาหวานไม่พึ่งอินซูลิน) โรคอ้วน โรคมะเร็ง เป็นต้น
น้ำมันปาล์มมีจุดเกิดควันค่อนข้างต่ำ ทำไมถึงทอดได้
สาเหตุที่น้ำมันปาล์มสามารถทอดอาหารได้ทั้งๆ ที่มีจุดเกิดควันค่อนข้างต่ำ เนื่องจากน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวค่อนข้างสูง จึงมีความคงตัวสูงต่อการทำปฏิกิริยากับความร้อน อย่างไรก็ตามการใช้น้ำมันปาล์มในการประกอบอาหารจะส่งผลให้เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL-C) ในเลือด อาจนำมาซึ่งโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งน้ำมันปาล์มมีการเติมสารกันหืนสังเคราะห์ (BHA, BHT, TBHQ) ซึ่งมีงานวิจัยบ่งชี้ว่า สารกันหืนสังเคราะห์เป็นตัวเสริมในการเกิดเนื้องอก และกระบวนการเกิดมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะหากเกิดการสะสมในปริมาณมาก
มีคนแนะนำว่าในครัวควรมีน้ำมันสำหรับประกอบอาหารมากกว่า 1 ประเภท จริงหรือไม่
ที่มีการกล่าวเช่นนี้เพราะคุณสมบัติของน้ำมันพืชแต่ละชนิดแตกต่างกัน บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันพืชหลายชนิดในยี่ห้อเดียวกัน จึงแนะนำการใช้น้ำมันพืชให้เหมาะสมกับคุณสมบัติทางเคมีของน้ำมันพืชแต่ละชนิดที่บริษัทนั้นจำหน่าย คุณสมบัติทางเคมีที่ใช้ตัดสินว่าน้ำมันชนิดนั้นเหมาะกับการประกอบอาหารด้วยความร้อนระดับใด คือ จุดเกิดควัน สามารถแบ่งน้ำมันตามอุณหภูมิของจุดเกิดควันได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1. น้ำมันที่มีจุดเกิดควันค่อนข้างต่ำ ได้แก่ น้ำมันคาโนล่า (204.4 °C) น้ำมันมะกอก (210.0 °C) น้ำมันปาล์ม (216.0 °C) เหมาะกับการประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนต่ำ ยกเว้นน้ำมันปาล์มที่นิยมนำไปใช้ทอดอาหารอย่างแพร่หลาย
2. น้ำมันที่มีจุดเกิดควันในระดับปานกลาง ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง (232.2 °C) น้ำมันข้าวโพด (232.2 °C) น้ำมันทานตะวัน (232.2 °C) น้ำมันดอกคำฝอย (232.2 °C) เหมาะกับการประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนปานกลางอย่างการผัดทั่วไป ไม่เหมาะที่จะนำมาประกอบอาหารแบบทอดน้ำมันท่วม (Deep Fried) หรือการผัดด้วยไฟแรงๆ
3. น้ำมันที่มีจุดเกิดควันสูง (High Smoke Point) ได้แก่ น้ำมันรำข้าว (250.0 °C) น้ำมันเมล็ดชา (252.0 °C) สามารถนำมาประกอบอาหารได้ทุกประเภท

ดังนั้น หากเลือกใช้น้ำมันที่มีจุดเกิดควันสูง (High Smoke Point) อย่าง น้ำมันรำข้าวก็ไม่จำเป็นต้องซื้อน้ำมันหลายชนิดมาใช้ในครัว มีน้ำมันรำข้าวเพียงขวดเดียวก็สามารถนำมาประกอบอาหารได้ทุกประเภท ทั้งทอด ผัด ทำน้ำสลัด หรือ ทำขนมอบ
การที่น้ำมันอยู่ในที่เย็นแล้วเป็นไข เกี่ยวข้องกับคอเลสเตอรอลหรือไม่
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า น้ำมันพืชทุกชนิดไม่มีคอเลสเตอรอล ซึ่งก็หมายความว่า น้ำมันพืชที่อยู่ในที่เย็นแล้วเป็นไขนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับคอเลสเตอรอลเลย

น้ำมันทุกชนิดสามารถเกิดไขได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวในน้ำมันชนิดนั้น น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวอยู่มากเช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว จะเกิดไขได้เร็ว ส่วนน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว เกิดไขได้ช้ากว่า เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว

การเป็นไขของน้ำมันเป็นลักษณะทางกายภาพเท่านั้น เมื่อนำน้ำมันที่เป็นไขมาไว้ที่อุณหภูมิปกติ (อุณหภูมิห้อง) หรือนำไปประกอบอาหารที่ใช้ความร้อน ลักษณะที่เป็นไขก็จะแปรสภาพกลับเป็นของเหลวเหมือนเดิมและวิธีการเก็บน้ำมันพืชที่ถูกต้อง ก็เพียงแค่เก็บในที่แห้ง ในอุณหภูมิปกติไม่โดนแสงแดดและความร้อนก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็นก็ได้
น้ำมันรำข้าว ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ หรือไม่
R&D มีงานวิจัยสนับสนุนที่ว่า น้ำมันรำข้าวสามารถช่วยลดระดับทั้ง LDL-C และ ไตรกรีเซอไรด์ใชด์ และจากตัวเลขสามารถช่วยลดไตรกรีเซอไรด์ได้ดีกว่า

(ข้อสรุปโดยสังเขปจากงานวิจัย) Ref. Citrakesumasari, et al. 2021 ศึกษาผลของการกินน้ำมันรำข้าวปริมาณ 15 mL 2 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 30 วัน ในอาสาสมัครที่มีภาวะ Cholesterol ในเลือดสูง จำนวน 14 คน (อายุ 50-52) (ค่าเฉลี่ย Total Cholesterol = 253.73±46.83 mg/dL และ Triglycerides = 197.53±65.35 mg/dL) ผลพบว่าช่วยลดระดับ Total Cholesterol 4.59% (242.07±36.85  mg/dL) และ Triglycerides 15.8% (166.27±49.15 mg/dL) ได้อย่างมีนัยสำคัญ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy